รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี มิถุนายน เปิดบริการกรกฎาคม อัปเดต 2566

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี

มาแล้ว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี 3 มิ.ย. 66 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา เวลา 9.00-20.00 น. พร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบ เดือนกรกฎาคม ราคา 15-45 บาท จำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี ตั้งแต่ ลาดพร้าว-สำโรง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี ตอนไหน ?

ปัจจุบันความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในขณะนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธา งานเดินรถ และงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้พบว่ายังมีบางส่วนที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนเปิดทดลองให้บริการแก่ประชาชน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้ผ่านการศึกษาดำเนินโครงการโดยสำนักนโยบาย และแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) ปี พ.ศ. 2550-2554 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว-พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ-สำโรง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง กำหนดเปิดให้บริการประชาชน ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี วันที่ 3 มิถุนายน 2556 นี้ โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี เป็นระยะเวลาราว 1 เดือน สรุปได้ดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี เปิดก่อน 13 สถานี จาก 23 สถานี (หัวหมาก-สำโรง)

  1. เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา เวลา 9.00-20.00 น. ความถี่ 10 นาที/ ขบวน
  2. ใครมีบัตร Rabbit ใช้ได้เลย หรือรับบัตรฟรีได้ที่สถานี
  3. 10 สถานีที่เหลือ ตั้งแต่ สถานีศรีกรีฑา ถึงสถานีลาดพร้าว จะมีการเปิดทดลองให้บริการในลำดับถัดไป ทางบริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
  4. รูปแบบขบวนรถไฟฟ้า เป็นชุดรถไฟฟ้าแบบ 4 ตู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารได้ 568 คนต่อขบวน หรือ 17,000 คน ต่อชั่วโมงต่อเที่ยว
  5. ราคาหลังเปิดให้บริการทดลองวิ่ง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท เริ่มต้นจากแยกรัชดา-ลาดพร้าว
  6. คาดว่าเปิดให้บริการจริงในเดือนกรกฎาคม

13 สถานี ที่เปิดบริการให้นั่งฟรี 3 มิถุนายน 2556 นี้

– สถานีหัวหมาก

– สถานีกลันตัน

– สถานีศรีนุช

– สถานีศรีนครินทร์ 38

– สถานีสวนหลวง ร.9

– สถานีศรีอุดม

– สถานีศรีเอี่ยม

– สถานีศรีลาซาล

– สถานีศรีแบริ่ง

– สถานีศรีด่าน

– สถานีศรีเทพา

– สถานีทิพวัล

– สถานีสำโรง

สถานีหัวหมาก จะจำกัดให้ประชาชนใช้เฉพาะทางเข้า-ออกที่ 2 (สี่แยกพัฒนาการ) และทางเข้า-ออกที่ 3 (ซอยศรีนครินทร์ 16) ที่มีความพร้อมก่อน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สามารถเชื่อมต่อกับระบบรางอื่นๆ ได้ที่

  1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง ซึ่งมาทางเชื่อมสถานีห่างกันประมาณ 300 เมตร
  2. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟสายตะวันออก ที่สถานีหัวหมาก รวมถึงรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ที่สถานีลาดพร้าว
  3. ในอนาคตสามารถเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีแยกลำสาลี

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคา

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รจะเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท เริ่มต้นจากแยกรัชดา-ลาดพร้าว โดยคาดว่าเปิดให้บริการจริงในเดือนกรกฎาคม นี้

รู้จัก รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยสังเขป

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล Straddle Monorail) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองประกอบด้วย 23 สถานี และเชื่อมต่อเส้นทางกับขนส่งมวลชนอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร  แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานีรัชดา
  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ (Airport Rail Link) ไปยังสุวรรณภูมิ
  • รถไฟฟ้าสายสีเทา (อนาคต)
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม (อนาคต)
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง

โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีทั้งหมด 23 สถานี มีดังนี้

1. ลาดพร้าว ใกล้แยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลาดพร้าว

2. ภาวนา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 41 และปากซอยลาดพร้าว 41, 41/1, 46 และซอยส่องแสงตะวัน

3. โชคชัย 4 ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า ถ.โชคชัย 4, ปากซอยลาดพร้าว 56 และปากซอยลาดพร้าว 58

4. ลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71, ปากซอยลาดพร้าว 82 และปากซอยลาดพร้าว 84

5. ลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 83 และปากซอยลาดพร้าว 85

6. มหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 120

7. ลาดพร้าว 101 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101, ปากซอยลาดพร้าว 128/2 และปากซอยลาดพร้าว 128/3

8. บางกะปิ ตั้งอยู่บริเวณหน้าแมคโครลาดพร้าว และปากซอยลาดพร้าว 115

9. แยกลำสาลี ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกลำสาลี ถ.รามคำแหง ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีลำสาลี

10. ศรีกรีฑา ตั้งอยู่บริเวณสี่แยก ถ.กรุงเทพกรีฑา ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์, ปากซอยกรุงเทพกรีฑา 2

11. หัวหมาก ตั้งอยู่บริเวณแยกพัฒนาการ ถ.พัฒนาการ ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก

12. กลันตัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าธัญญา พาร์ค

13. ศรีนุช ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.สุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ซ.อ่อนนุช 60

14. ศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บริเวณ ซ.ศรีนครินทร์ 38, ซ.ศรีนครินทร์ 43 และ ซ.ศรีนครินทร์ 45

15. สวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บริเวณห้างซีคอน ศรีนครินทร์ และพาราไดซ์ พาร์ค, ซ.ศรีนครินทร์ 42, ซ.ศรีนครินทร์ 51 และ ซ.ศรีนครินทร์ 53

16. ศรีอุดม ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.อุดมสุข ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ และ ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9, ซ.ศรีนครินทร์ 54, ซ.ศรีนครินทร์ 56, ซ.ศรีนครินทร์ 58 และ ซ.ศรีนครินทร์ 63

17. ศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บริเวณวัดศรีเอี่ยม มีอาคารจอดแล้วจร

18. ศรีลาซาล ตั้งอยู่บริเวณแยก ถ.ลาซาล ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์

19. ศรีแบริ่ง ตั้งอยู่บริเวณถนนเชื่อมระหว่าง ถ.ศรีนครินทร์ กับ ถ.แบริ่ง, ซ.ศรีด่าน 11, ซ.ศรีด่าน 13, ซ.ศรีด่าน 16

20. ศรีด่าน ตั้งอยู่ใกล้ ซ.ศรีด่าน 2

21. ศรีเทพา ตั้งอยู่บริเวณ ซ.อรรถสิทธิ์ และ ซ.ร่วมจิตพัฒนา

22. ทิพวัล ตั้งอยู่บริเวณปาล์มไอส์แลนด์ มอลล์, ถ.ประดิษฐ์สโมสร

23. สำโรง ตั้งอยู่บริเวณแยกเทพารักษ์-สุขุมวิท, ซ.เทพารักษ์ 2 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง

ทั้งนี้ ยังมีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายอีก 2 สถานีที่จะทำหน้าที่เชื่อมการเดินทางระหว่างแยกรัชโยธินและสถานีรัชดา

รูปแบบของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • คานรองรับทางวิ่ง (Guideway Beam) เป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ควบคู่กับการใช้เหล็กหล่อในบางช่วง มีความกว้าง 69 เซนติเมตร สูง 2 เมตร มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพ่วงได้ 4-7 คันต่อขบวน ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
  • โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณด้านข้างโรงแรมเมเปิล ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีศรีเอี่ยม
  • มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณสถานีลาดพร้าว อันเป็นอาคารจอดแล้วจรที่ใช้งานร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และบริเวณด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งติดกับสถานีศรีเอี่ยม สามารถจอดรถได้ประมาณ 2,800 คัน และจะมีร้านค้าเช่าบริเวณชั้นล่างของอาคาร

ขบวนรถไฟฟ้า โมโนเรลรุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เลือกใช้รถไฟฟ้าโมโนเรลรุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300 จากอัลสตอม (บอมบาร์ดิเอร์ เดิม) ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น อัลสตอม ทรานสปอร์เทชัน ซิสเท็ม (CRRC-PATS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากรางที่ 3 ที่ติดตั้งด้านข้างคานรองรับทางวิ่งเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น เอ็กซ์ เมโทร จากมิชลิน ประเทศไทย สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ

ระบบในการเดินรถ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ (Driverless Operation)

สามารถอ่านราคา ที่ดินรอบๆ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้ที่นี่ คลิก